วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัยและโทรทัศน์ครู


วิจัยเรื่อง 
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้ันบูรณาการ 

ชื่อผู้วิจัย จรินทร จันทร์เพ็ง (Jarintorn Junping)

ตัวแปรต้น     การพัฒนาวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ
ตัวแปรตาม     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


         ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         1.ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
           อย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น
           ผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์

         2.ทักษะการจำแนก หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่ง            ต่างๆให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน

         3.ทักษะการแสดงปริมาณ หมายถึง ความสามารถในการรู้จัก
           ประมาณสิ่งของต่างๆว่ามีอยู่เท่าไ

         4.ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ฝึกให้
           เด็กมีทักษะในการเสนอข้อมูลต่างๆในรูปแบบการพูด
           ภาษาเขียน รูปภาพ

         5.ทักษะการลงความเห็นของข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติม
           ความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัย
           ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

         6.การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
           มิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่รูปทรง ทิสทาง เวลา
           รวมทั้งความสัมพันธ์ของรูปร่างระหว่างสองกับสามมิติ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น บูรณาการของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
2. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้


วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 จำนวน 4 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียน 115คน จัดชั้นเรียนโดยคละความสามารถ
กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 จ านวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sample) 

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวจัยได้แก่
2.1 แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น บูรณาการ สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่2 ที่
      ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ และแบบอัตนัย จ านวน 16ข้อ
2.2 แบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เป็นแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นทักษะ
      กระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้น บูรณาการ
2.3 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยครูผูวิจัยสร้างขึ้นโดยมีประเด็นในการสังเกต คือ
      พฤติกรรมทั่วไป และพฤติกรรมที่แสดงออกด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.4 แบบบันทึกหลังสอนของครู ซึ่งมีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
     1) สิ่งที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้
     2) ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น            บูรณาการ
     3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป

3.การเก็บ รวบรวมข้อมูล

การเก็บรวมข้อมูลผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้
3.1 ทดสอบก่อนเรียน โดยวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยแบบวัดทักษะกระบวนการทาง
      วิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2
3.2 ผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเองตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสารและสมบัติของสาร จำนวน 11
      แผนการเรียนรู้ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผูเ้ชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้                 จำนวน 20คาบ คาบละ50 นาที ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554และบันทึกหลังการสอนด้วยตนเอง       เมื่อเสร็จสิ้นหลังการสอนทุกแผนการเรียนรู้
3.3 ขณะจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนตาม
      แผนผู้วิจัยสร้างขึ้นนักเรียนบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนลงในแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม         ของนักเรียนเป็นกลุ่ม
      และทำแบบฝึกหัด ทักษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้น บูรณาการท้ายแบบบันทึกผลการปฏิบัติ           กิจกรรมเป็นรายบุคคลในทุกแผนการจัดการเรียนรู้
3.4 เมื่อสิ้นสุดตามแผนที่กำหนด ทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบวัดทักษะกระบวนการทาง                         วิทยาศาสตร์ฉบับเดิม

4.การวเิคราะห์ข้อมูล

4.1 นำผลคะแนนจากการตรวจแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย
      นักเรียนที่นักเรียนทำหลังจากการเรียนทุกแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
      1) สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้
      2) ทักษะกระบวนการขั้นบูรณาการ
4.3 วิเคราะห์แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
4.4 วิเคราะห์แบบบันทึกหลังสอนของครู ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกข้อมูลอย่าง
      เป็นระบบ ตีความหมายเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้ผลการ         วิจัยผลการศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้น                   มัธยมศึกษาปีที่2เมื่อผา่นการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นดังนี้
      1. เปรียบเทียบคะแนนทกัษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ข้นั บูรณาการก่อนเรียนและหลงัเรียน
            1.1  คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้นั บูรณาการโดยรวมก่อนเรียนและหลงัเรียน ผล                    การเวิคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
            1.2  คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการรายทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน                      ผลการวิเคราะห์ขอ้มูลโดยเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนก่อนเรียนและหลงัเรียน

ผลการวิจัยปรากฏว่า
 (1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.01
 (2) นักเรียนแสดงพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้


สรุปจากโทรทัศน์ครู

เรื่องวิทยาศาสตร์กับงานหัตถกรรม

โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จังหวัดเพชรบุรีร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

การเรียนการสอนจากโทรทัศน์ครูนำเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการบูรณาการโดยการใช้งานหัตกรรมท้องถิ่น
ขั้นการสอนทางโรงเรียนก็จะให้ครูช่างหรือวิทยากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้มาสอนให้กับนักเรียนเรียนรู้การทำปูนปั้นหลังจากที่เด็กๆเริ่มทำปูนปั้นนั้นคุณครูหรือวิทยากรก็เริ่มต้นการสอนโดยการตั้งคำถามกับเด็กๆว่าตอนนี้เด็กๆเจอกับปัญหาอะไรไหมในการทำปูนปั้นแล้วถ้านักเรียนปั้นช้าปูนจะเกิดอะไรขึ้น ปูนมันจะทำไม เด็กๆก็ตอบว่า ปูนก็จะเเห้ง คุณครูก็ได้อธิบายโดยให้เด็กๆเปรียบเทียบกับชีวิตจริงเวลาที่เด็กๆนำผ้าไปซัก ผ้าจะทำไมจะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆก็ตอบว่าผ้าก็จะเปียก และคุณครูก็ได้ถามต่อว่าแล้วเวลาที่เราเอาผ้าไปตากจะเกิดอะไรขึ้น เด็กก็จะตอบว่า ผ้าก็จะแห้ง คุณครูก็ตั้งถามอีกว่าแล้วทำไมผ้าจึงแห้ง สาเหตุเกิดจากอะไร เด็กๆก็ตอบว่า เกิดจากการระเหย จากนั้นคุณครูก็อธิบายต่อว่า สาเหตุที่ทำให้ผ้าแห้งเกิดจากการระเหยของน้ำออกจากวัตถุ เพราะฉนั้นการที่ปูนแห้งเกิดจากอะไร เกิดจากสถานะของปูนซึ่งเป็นของเหลวหากทิ่งไว้ซักระยะหนึ่งจากของเหลวปูนก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็งเพราะในปูนจะเกิดการระเหยของน้ำ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น