บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อชิ้นเก่า แล้วให้นักศึกษาแยกหมวดหมู่สื่อของตนว่าอยู่ในหมวดใด ซึ่งสื่อของดิฉันจัดอยู่ในหมวดน้ำ ที่มีแรงลอยตัวหรือแรงพยุง
หลังจากที่นำเสนอสื่อเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาคนที่นำเสนอวิจัยกับโทรทัศน์ครูออกไปนำเสนองานของตน
เมื่อนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จ ก็ทำการทดลองเรื่องคุณสมบัติของน้ำ
อุปกรณ์ในการทำ
ขั้นที่ 1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำเปล่า
ขั้นที่ 2 นำน้ำหวานที่ผสมกับน้ำแล้วใส่ถุงขนาดเล็ก
ขั้นที่ 3 นำหนังยางรัดปากถุงให้แน่น
ขั้นที่ 4 นำถุงน้ำหวานใส่หม้อ ตามด้วยเกล็ดน้ำแข็งและเกลือ จากนั้นปิดฝาหม้อแล้วหมุนไปมา
ขั้นที่ 5 จากน้ำหวานที่เป็นของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็ง
การแข็งตัว (Fleezing) คือการที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน
เทคนิคการสอน
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการปฏิบัติจริง ให้นักศึกษาทดลองด้วยตนเอง ฝึกการสังเกต และการวิเคราะห์ ซึ่งการทดลองเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอนในอนาคต การนำไปสอนเด็ก นำไปเป็นการประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม หรือทำทานเล่นกันภายในครอบครัว เพราะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่าย ไม่สิ้นเปลือง
การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาได้ทำอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนอสื่อของตนและรายงานงานวิจัยของตนเองได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการทดลองต่างๆมาให้นักศึกษาได้ปฏิบัติทดลองทุกสัปดาห์ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์พูดจาสุภาพ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น