วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัยและโทรทัศน์ครู


วิจัยเรื่อง 
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้ันบูรณาการ 

ชื่อผู้วิจัย จรินทร จันทร์เพ็ง (Jarintorn Junping)

ตัวแปรต้น     การพัฒนาวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ
ตัวแปรตาม     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


         ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         1.ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
           อย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น
           ผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์

         2.ทักษะการจำแนก หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่ง            ต่างๆให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน

         3.ทักษะการแสดงปริมาณ หมายถึง ความสามารถในการรู้จัก
           ประมาณสิ่งของต่างๆว่ามีอยู่เท่าไ

         4.ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ฝึกให้
           เด็กมีทักษะในการเสนอข้อมูลต่างๆในรูปแบบการพูด
           ภาษาเขียน รูปภาพ

         5.ทักษะการลงความเห็นของข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติม
           ความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัย
           ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

         6.การหามิติสัมพันธ์ หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
           มิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่รูปทรง ทิสทาง เวลา
           รวมทั้งความสัมพันธ์ของรูปร่างระหว่างสองกับสามมิติ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น บูรณาการของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
2. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้


วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 จำนวน 4 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียน 115คน จัดชั้นเรียนโดยคละความสามารถ
กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 จ านวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sample) 

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวจัยได้แก่
2.1 แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น บูรณาการ สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่2 ที่
      ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ และแบบอัตนัย จ านวน 16ข้อ
2.2 แบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เป็นแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นทักษะ
      กระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้น บูรณาการ
2.3 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยครูผูวิจัยสร้างขึ้นโดยมีประเด็นในการสังเกต คือ
      พฤติกรรมทั่วไป และพฤติกรรมที่แสดงออกด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.4 แบบบันทึกหลังสอนของครู ซึ่งมีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
     1) สิ่งที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้
     2) ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น            บูรณาการ
     3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป

3.การเก็บ รวบรวมข้อมูล

การเก็บรวมข้อมูลผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้
3.1 ทดสอบก่อนเรียน โดยวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยแบบวัดทักษะกระบวนการทาง
      วิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2
3.2 ผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเองตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสารและสมบัติของสาร จำนวน 11
      แผนการเรียนรู้ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผูเ้ชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้                 จำนวน 20คาบ คาบละ50 นาที ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554และบันทึกหลังการสอนด้วยตนเอง       เมื่อเสร็จสิ้นหลังการสอนทุกแผนการเรียนรู้
3.3 ขณะจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนตาม
      แผนผู้วิจัยสร้างขึ้นนักเรียนบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนลงในแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม         ของนักเรียนเป็นกลุ่ม
      และทำแบบฝึกหัด ทักษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ขั้น บูรณาการท้ายแบบบันทึกผลการปฏิบัติ           กิจกรรมเป็นรายบุคคลในทุกแผนการจัดการเรียนรู้
3.4 เมื่อสิ้นสุดตามแผนที่กำหนด ทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบวัดทักษะกระบวนการทาง                         วิทยาศาสตร์ฉบับเดิม

4.การวเิคราะห์ข้อมูล

4.1 นำผลคะแนนจากการตรวจแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย
      นักเรียนที่นักเรียนทำหลังจากการเรียนทุกแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
      1) สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้
      2) ทักษะกระบวนการขั้นบูรณาการ
4.3 วิเคราะห์แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
4.4 วิเคราะห์แบบบันทึกหลังสอนของครู ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกข้อมูลอย่าง
      เป็นระบบ ตีความหมายเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้ผลการ         วิจัยผลการศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้น                   มัธยมศึกษาปีที่2เมื่อผา่นการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นดังนี้
      1. เปรียบเทียบคะแนนทกัษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร์ข้นั บูรณาการก่อนเรียนและหลงัเรียน
            1.1  คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้นั บูรณาการโดยรวมก่อนเรียนและหลงัเรียน ผล                    การเวิคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
            1.2  คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการรายทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน                      ผลการวิเคราะห์ขอ้มูลโดยเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนก่อนเรียนและหลงัเรียน

ผลการวิจัยปรากฏว่า
 (1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.01
 (2) นักเรียนแสดงพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้


สรุปจากโทรทัศน์ครู

เรื่องวิทยาศาสตร์กับงานหัตถกรรม

โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จังหวัดเพชรบุรีร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

การเรียนการสอนจากโทรทัศน์ครูนำเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการบูรณาการโดยการใช้งานหัตกรรมท้องถิ่น
ขั้นการสอนทางโรงเรียนก็จะให้ครูช่างหรือวิทยากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้มาสอนให้กับนักเรียนเรียนรู้การทำปูนปั้นหลังจากที่เด็กๆเริ่มทำปูนปั้นนั้นคุณครูหรือวิทยากรก็เริ่มต้นการสอนโดยการตั้งคำถามกับเด็กๆว่าตอนนี้เด็กๆเจอกับปัญหาอะไรไหมในการทำปูนปั้นแล้วถ้านักเรียนปั้นช้าปูนจะเกิดอะไรขึ้น ปูนมันจะทำไม เด็กๆก็ตอบว่า ปูนก็จะเเห้ง คุณครูก็ได้อธิบายโดยให้เด็กๆเปรียบเทียบกับชีวิตจริงเวลาที่เด็กๆนำผ้าไปซัก ผ้าจะทำไมจะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆก็ตอบว่าผ้าก็จะเปียก และคุณครูก็ได้ถามต่อว่าแล้วเวลาที่เราเอาผ้าไปตากจะเกิดอะไรขึ้น เด็กก็จะตอบว่า ผ้าก็จะแห้ง คุณครูก็ตั้งถามอีกว่าแล้วทำไมผ้าจึงแห้ง สาเหตุเกิดจากอะไร เด็กๆก็ตอบว่า เกิดจากการระเหย จากนั้นคุณครูก็อธิบายต่อว่า สาเหตุที่ทำให้ผ้าแห้งเกิดจากการระเหยของน้ำออกจากวัตถุ เพราะฉนั้นการที่ปูนแห้งเกิดจากอะไร เกิดจากสถานะของปูนซึ่งเป็นของเหลวหากทิ่งไว้ซักระยะหนึ่งจากของเหลวปูนก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็งเพราะในปูนจะเกิดการระเหยของน้ำ












วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อชิ้นเก่า แล้วให้นักศึกษาแยกหมวดหมู่สื่อของตนว่าอยู่ในหมวดใด ซึ่งสื่อของดิฉันจัดอยู่ในหมวดน้ำ ที่มีแรงลอยตัวหรือแรงพยุง






หลังจากที่นำเสนอสื่อเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาคนที่นำเสนอวิจัยกับโทรทัศน์ครูออกไปนำเสนองานของตน


เมื่อนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จ  ก็ทำการทดลองเรื่องคุณสมบัติของน้ำ


อุปกรณ์ในการทำ


ขั้นที่ 1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำเปล่า



ขั้นที่ 2 นำน้ำหวานที่ผสมกับน้ำแล้วใส่ถุงขนาดเล็ก



 

ขั้นที่ 3 นำหนังยางรัดปากถุงให้แน่น





ขั้นที่ 4 นำถุงน้ำหวานใส่หม้อ ตามด้วยเกล็ดน้ำแข็งและเกลือ จากนั้นปิดฝาหม้อแล้วหมุนไปมา



ขั้นที่ 5 จากน้ำหวานที่เป็นของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็ง


     การแข็งตัว (Fleezing) คือการที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก         

       กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง   นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน                                                                                   
                                                                                                                       
เทคนิคการสอน
    อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการปฏิบัติจริง ให้นักศึกษาทดลองด้วยตนเอง ฝึกการสังเกต และการวิเคราะห์ ซึ่งการทดลองเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอนในอนาคต การนำไปสอนเด็ก นำไปเป็นการประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม หรือทำทานเล่นกันภายในครอบครัว เพราะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่าย ไม่สิ้นเปลือง

การประเมิน 

ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาได้ทำอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนอสื่อของตนและรายงานงานวิจัยของตนเองได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการทดลองต่างๆมาให้นักศึกษาได้ปฏิบัติทดลองทุกสัปดาห์ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์พูดจาสุภาพ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย








วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557

      เริ่มต้นชั่วโมงเรียนโดยการนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ครู ขั้นตอนการสรุปโทรทัศน์ครูคือ การส่งเสริมของเนื้อหา วิธีการแก้ไข วิธีการสอน ขั้นตอนการสอน

หลังจากการนำเสนอวิจัยอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆร่วมกันทำ วาฟเฟล


ภาพบบยากาศและขั้นตอนการทำ วาฟเฟล












เทคนิคการสอน
อาจารย์จะสอนแบบการที่นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เปรียบกับว่านักศึกษาเป็นเด็กๆที่พร้อมจะเรียนรู้ขั้นตอนการทำ Cooking อาจารย์ก็เตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความพร้อมที่จะสอนเด็กปฐมวัยควรเป็นไปอย่างไร สิ่งไหนเหมาะ ไม่เหมาะกับเด็กการอธิบาย การสาธิตต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
นำขั้นตอนการเรียนการสอนในวันนี้ ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคต




ประเมินตนเอง  วันนี้นำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนไม่ผ่านอาจารย์ได้ให้คำำแนะนำในการสอนและการเขียนแผน และการทำ cooking ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นที่ตื่นตาให้กับดิฉันและเพื่อนๆในชั้นเรียนมาก

ประเมินเพื่อน
 เพื่อนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมขนมวาฟเฟลมาก

ประเมินอาจารย์
 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง 









บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557
     
       นักศึกษาออกไปนำเสนอแผน โดยมีกลุ่มที่ออกไปนำเสนอการสอนในหน่อยต่างๆดังต่อไปนี้  หน่วยสับปะรด หน่วยส้ม หน่วยทุเรียน    หน่วยมดแดง   บางกลุ่มนำเสนอออกมาได้ดี บางกลุ่มก็ต้องนำกลับไปแก้ไขเนื่องจากการสอนไม่ต้องกับวัตถุประสงค์วางไว้ โดยเฉพาะกลุ่มของดิฉัน อาจจะเกิดจากความเข้าใจของทางกลุ่มดิฉันเองที่จับใจความในการสอนผิดประเด็น แต่อาจารย์ก็ได้อธิบายและบอกแนวทางแก้ไขกลับมา เพื่อให้กลุ่มของดิฉันนั้นกลับไปแก้ไขข้อผิดพลาดมาใหม่...

กลุ่มสับปะรด(กลุ่มดิฉันเอง)




ขั้นนำ 

เป็นการพูดถึงลักษณะทั่วไปของสับปะรด  รูปทรง  สี  พื้นผิว  ประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด

ขั้นสอน

สอนการทำน้ำสับปะรด  การหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ  การทำน้ำเชื่อม และครูบอกวิธีการทำน้ำสับปะรดเป็นขั้นตอน และบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำสับปะรดว่ามีอะไรบ้าง

ขั้นสรุป 

ครูซักถามเด็กว่าในการทำน้ำสับปะรดมีวิธีการทำอย่างไร  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำมีอะไรบ้าง  และประโยชน์ของสับปะรด  ข้อควรระวังของสับปะรดมีอะไรบ้าง

อาจารย์สาธิตการสอนเด็กทำ Cooking





อุปกรณ์1.ไข่ไก่2.ปูอัด,ต้นหอม3.ภาชนะใส่ไข่ เขียง มีด กรรไกร ช้อนซ้อม4.กระดาษ5.เครื่องทำCooking6.ข้าว7.เนย


เทคนิคการสอน
อาจารย์เน้นการสอนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะย้ำนักศึกษาถึงประเด็นสำคัญเพื่อให้นักศึกษาจำและนำไปใช้ได้ถูกต้องให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และอาจารย์จะนำรูปแบบการสอนแแบบถูกต้องมาสาธิตให้นักศึกษาสังเกตดูและจดจำเช่นการสอนทำ Cooking ขั้นตอนในการสอน การอธิบาย อุปกรณ์ที่พร้อมในการสอนเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมาย เป็นตัวอย่างการสอนที่ดี จากการที่อาจารย์ได้สาธิตให้ดู...ทั้งรูปแบบการสอน เทคนิคการพูด อุปกรณืในการสอน..




ประเมินตนเอง 

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  

ครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 04 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557

      วันนี้เป็นการนำเสนอกิจกกรมเกี่ยวกับแผนที่ตนเองได้เตรียมมา โดยมีแผนการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 5 แผน  และเเต่ละแผนกิจกรรมก็มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการสอนในแต่วัน

กลุ่มที่1 นำเสอเรื่องข้าว(ทำซูชิ)


ขั้นนำ 

    คุณครูมีการร้องเพลงข้าว เพื่อให้เด็กๆหันมาสนใจในกิจกรรมที่คุณครูกำลังจะสอน  แล้วนำจิกซอว์มาวางไว้ตรงหน้าเด็ก แลัวให้เด็กนำจิกซอว์มาต่อเป็นรูป แล้วเมื่อเด็กต่อเสร็จก็มีการซักถามเด็กว่า เป็นรูปอะไร 

ขั้นสอน 

   ครูได้ใช้คำถาม ถามเด็กว่าวันนี้เราเรียนเรื่องอะไร  และครูก็อธิบายเป้าหมายที่จะเรียนในวันนี้ว่าครูจะสอนการทำซูชิ  และได้บอกว่าหน้าซูชิแต่ละหน้ามีอะไรบ้าง  แล้วถามว่าใครอยากทำซูชิบ้าง  และครูกับเด็กก็ร่วมกันทำซูชิ

ขั้นสรุป

ครูได้ถามเด็กๆว่าเด็กๆชอบซูชิหน้าอะไรกันมากที่สุด โดยมีการทำตาราง  โดยมีหน้าซูชิดังต่อไปนี้ 
หน้าไก่ทอด   หน้าหมูย่าง  หน้าหมูอบ 


กลุ่มกล้วย

เป็นการนำเสนอการทำกล้วยทอด




ขั้นนำ

     คุณครูได้สอนเด็กร้องเพลงกล้วย  เต้นเพลงกล้วย  และมีการอธิบายเกี่ยวกับ   ลักษณะรูปทรงของกล้วย  และถามเด็กๆว่าใครเคยเห็นกล้วยบ้าง


ขั้นสอน 

    ครูได้นำอุปกรณืในการทำกล้วยทอดมาให้เด็กๆได้ดู ครูให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  โดยการให้เด็กๆร่วมกันปอกกล้วย   และหลังจากนั้นครูสอนวิธีการทอดกล้วย 


ขั้นสรุป 
     ครูซักถามว่าได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี้  และถามว่ากล้วยมีกี่ชนิด  อะไรบ้าง 


เทคนิคการสอน
จากแผนการเรียนการสอนที่เพื่อนๆได้นำเสนอไปมีทั้งข้อผิดพลาดและข้อที่ถูกต้อง แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำหรือเทคนิคในการสอนต่างๆอาจารย์พยายามอธิบายหรือพูดซ้ำๆในข้อข้อที่สำคัญเพื่อให้นักศึกษาได้จดจำและเกิดการเรียนรู้เข้าในในการเขียนแผนการสอนและการสอนหน้าชั้นเรียนมากขึน

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำหลักการสอนที่อาจารย์ได้สอนมาไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต การปรับปรุงแก้ไขตนเองในจุดบกพร่องเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นคุณครูปฐมวัยที่มีคุณภาพ


ประเมินตนเอง 

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังงานที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนแต่อาจจะไม่ตรงประเด็นแต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำให้ได้ไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งหน้า

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และมีความพร้อมในการออกมานำเสนองาน

ประเมินครูผู้สอน  

ครูสอนเข้าใจมีการย้ำรายละเอียดอยู่ตลอดเวลา  เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   






วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 28 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557

         
   
        เริ่มต้นชั่วโมง อาจารย์กล่าวถึง พื้นฐานของวิทยาศทสตร์
แนวคิดพื้นฐานที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมลแต่มีความแตกต่างกันหรือไม่ก็คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยการปรับตัวและการพึงพาอาศัยกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล

เทคนิคการสอน

เป็นการสอนที่สอนเด็กๆแบบไม่ชี้แนะแนวทางหรือบอกรายละเอียดกับเด็กก่อนแต่คุณครูจะปลอยให้เด็กๆตั้งคำถามขึ้นก่อน เช่น ทำไม อย่างไร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เกิดกระบวนกาารคิด การตั้งคำถาม และทักษะการสังเกต การคาดคะเน และการตั้งสมมติฐาน

กิจกรรมและสิ่งที่ได้รับในการเรียนวันนี้
กิจกรรมที่ 1 ทำไมไฟถึงดับ



                           ทำไมไฟถึงดับ  เพราะ อากาศที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้หมดไป ไฟก็เลยดับ

*อากาศ สิ่งมีชีวิตใช้ออกซิเจนในการหายใจ พืชใช้คาร์บอนไดออกไซน์ในการหายใจเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง

กิจกรรมที่ 2 นำกระดาษรูปดอกไม้ลอยน้ำ





จากการทดลองสังเกตได้ว่า

      การที่นำกระดาษไปลอยน้ำทำให้กระดาษคลี่ขึ้นนั้นเนื่องจาก การที่น้ำซึมเข้าไปในกระดาษทำให้น้ำเข้าไปแทนที่ตรงที่ว่างของกระดาษ ทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ออก สังเกตได้ว่า เริ่มจากการทดลองน้ำที่ใช้ในการทดลองเต็มตู้แก้วอยู่ แต่หลังจากการทดลองน้ำในตู้ค่อยๆลดลง เนื่องจากน้ำบางส่วนนั้นได้ซึมเข้าสู่กระดาษดอกไม่ที่นักศึกษาได้นำไปทดลองนั่นเอง

กิจกรรมที่ 3 การไหลของน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ





จากการทดลองสังเกตได้ว่า 
    
    หากเรานำขวดน้ำกับสายยางให้อยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะไหลช้าและอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ถ้าหากเราวางขวดน้ำไว้สูงกว่าระดับสายยางน้ำก็จะไหลเร็วและพุ่งสูงขึ้น เพราะยิ่งน้ำวางอยู่สูงแรงดันก็จะยิ่งมาก

กิจกรรมที่ 4 ดินน้ำมันลอยน้ำ




จากการทดลองสังเกตได้ว่า

     ดินน้ำำมันที่อาจารย์ให้นำมาปั้นเป็นรูปกลมๆกับรูปแบนๆ ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปกลมๆนั้นจะจมน้ำ แต่ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปแบนๆจะลอยน้ำบางอันเท่านั้น ชิ้นที่ลอยน้ำนั้นจะปั้นเป็นรูปแบนๆแล้วมีขอบจะไม่จม แต่ชิ้นที่ปั้นเป็นรูปแบนกว้างเลยจะจมน้ำ  สาเหตุ ที่ดินน้ำมันจมน้ำเพราะดินน้ำมันมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ

สิ้นสุดการทดลอง 
อาจารย์ก็พูดและอธิบายถึงเรื่องการเขียนแผนการสอน ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีชื่อหน่วยว่า หน่วย สับปะรด




การประเมิน

ประเมินตนเอง 

ตั้งใจเรียน จดบันทึกและรับฟังการเรียนการสอน แต่กายถูกระเบียบเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมการทดลองที่อาจารย์นำมาสอนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ แต่งกายถูกระเบียบข้องตกลงของห้อง 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาร่วมกันคิดก่อนที่อาจารย์จะอธิบายแนวทาง หรือข้อถูกต้องเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด และอาจารย์ได้นำการทดลองต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นของจริงไม่ใช่แค่ทฤษฏี







วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินคั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557
 
         เริ่มต้นการเรียนโดยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งสิ่งประดิษฐ์ของดิฉัน ได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์เรียกว่าเรือกระดาษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คือ เรือสามารถลอยน้ำได้เพราะเกิดจากเเรงลอยตัวหรือแรงพยุง ซึงความหนาแน่นของเรือจะน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ เรือจึงสามาถลอยน้ำอยู่ได้


ภาพตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ของดิฉัน



           
หลังจากที่นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เสร็จ  อาจารย์ก็ได้เริ่มเข้าสู่การสอนการเขียนแผนการเรียนซึ่งนักศึกษาอาจจะทำมาแบบยังผิดๆถูกๆอยู่แต่อาจารย์ก็ได้อธิบาย รายละเอียดเเละเทคนิคทักษะการเขียนแผนให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด และมอบหมายงานเรื่องการเขียนแผนการเรียนรู้ของเเต่ละกลุ่ม แล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า

                              


เทคนิคการสอน


     อาจารย์ให้นักศึกษาอธิบายว่าของเล่นที่เราทำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เป็นการฝึกว่าถ้าเด็กถามเราว่า สมมุติว่าเป็นเรือ เด็กอาจจะถามเราว่าทำไมเรือถึงลอยน้ำ เราจะได้ตอบเด็กๆว่าเพราะเกิดจากแรงลอยตัวหรือแรงพยุงซึ่ง ความหนาแน่นของเรื่อน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ เป็นต้น โดยอาจารย์จะถามเราก่อนว่าของล่นที่เรานำมานำเสนอนั้น เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร คำตอบจะถูกจะผิด อาจารย์จะเป็นคนชี้แนะเพิ่มรู้ให้นักศึกษารู้ถึงแนวทางแก้ไข หรือความรู้เพิ่มเติม...

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้ถึงเทคต่างๆในการประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์บางชิ้นที่เราไม่เคยเห็นและไม่รู้จักมาก่อนจากเพื่อนๆของเรา สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง 

 เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  

ครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา