วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ.2557


วันนี้อาจารย์ติชม เรื่องบล็อกเกอร์ บอกถึงข้อตกลงของบล็อกให้นักศึกษาทำตามข้อตกลงด้วย
สิ่งที่ได้รับและรายละเอียดการเรียนในวันนี้
วิธีการเรียนรู้คือ การลงมือทำ การปฎิบัติ
เด็กเรียนนรุ้โดยเด็กลงมือกระทำเองหรือเรียกอีกอย่างว่า วิธีการเรียนรู้  (How to Learn)



ข้อคิด กระจกยิ่งทำมุมกว้าง ยิ่งเห็นวัตถุน้อย ยิ่งทำมุมแคบ ยิ่งเห็นวัตถุได้มาก

รายวิชาเสริมประสบการณ์
- กาย = สุขภาพ ประสาทสัมผัสของกล้ามเื้อกับอวัยวะ
- อารมณ์ = การแสดงออกทางความรู้สึก
- สังคม = การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การช่วยเหลือตนเอง
- สติปัญญา = การคิด การสื่อสาร

กิจกรรมวันนี้

 กิจกรรมการหมุนภาพทำให้เกิดภาพซ้อน







                                                          ด้านหน้า                               ด้านหลัง


กิจกรรมนี้ เป็นการประดิษฐ์ของเล่นง่ายๆที่สามารถนำไปบูรณาการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรายวิชาศิลปะก็ได้



กิจกรรมนี้ อาจารณ์ได้แจกนักศึกษาไว้ และนำมาใช้ประดิษฐ์ในสัปดาห์ถัดไป


กิจกรรมตัวนี้ อาจารย์จัดเตรียมมาเพื่อให้นักศึกษาสังเกตสีของแสงของกระบอกแต่ละชิ้นที่มีสีแตกต่างกัน

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน
คนที่ 1 นางสาววิรัญดา ขยันงาม

การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย

คนที่ 2 นางสาวอรุณจิตร หาญห้าว

นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า

คนที่ 3 นางสาวณัฐิดา รัตนชัย

เรื่องแนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้

คนที่ 4 นางสาวอนิทิมล เสมมา 

เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น

หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ตรวจและแสดงความคิดเห็น mind map งานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
       

ศึกษาเพิ่มเติม

ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน


การทำงานของสมองคือ

         อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ สมองส่วนหน้า (Forebrain) สมองส่วนกลาง (Midbrain) และสมองส่วนท้าย (hindbrain) สมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการไปมากโดยเฉพาะส่วนหน้าจะมีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น แต่สมองส่วนกลางจะค่อย ๆ เล็กลงเพราะจะลดความสำคัญลงไป

สมองส่วนหน้า (Forebrain)
ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เพียงรับสัญญาณการดมกลิ่นจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ส่วนที่เรียกว่า Cerebrum จะควบคุมการใช้ความคิดความจำ การใช้เหตุผล การแปรหรือรับความรู้สึกชนิดต่าง ๆ เป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นและการได้ยินเสียง Cerebrum มีร่องลึกหรือรอยบุ๋มมากมายเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ที่เรียกว่า convolution ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้าแยกเป็น ธาลามัส (thalamus) และไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ธาลามัสทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่มาจากไขสันหลังและสมองเพื่อส่งไปยังส่วนหน้าสุดของซีรีบรัม ไฮโปธาลามัสอยู่ใต้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง (pituitary grand) ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ การกิน การกระหายน้ำ การหนีภัย การค่อสู้ การรักษาสมดุลของร่างกาย รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และพฤติกรรมทางเพศ

สมองส่วนกลาง (Midbrain)
สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ สมองส่วนนี้เป็นศูนย์กลางของการมองเห็น สัตว์เลื้อยคลานกับนก ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณการมองเห็นไปยังซีรีบรัม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นเพียงสถานีถ่ายทอดสัญญาณระหว่างสมองส่วนท้ายและสมองส่วนหน้า และระหว่างตากับสมองส่วนหน้า

สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
ประกอบด้วยซีรีบรัม (cerebellum) เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และ พอนส์ (pons) ซีรีบลัมมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทรงตัว ควบคุมและประสานงานการเคลื่อนไหว พอนส์ควบคุมการเคี้ยวและกลืน เมดุลลาออบลองกาตาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ.2557

   
          เริ่มต้นชั่วโมงเรียน อาจารย์เปิดเพลงให้ฟังเกี่ยวกับเพลง วิทยาศาสตร์ พอเพลงจบ 
   อาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรเพราะนักศึกษาไม่ได้ตั้งใจฟัง ทำให้ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง เสียงที่คุยกันดังกว่าเสียงเพลงที่อาจารย์เปิดทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจเนื้อหาของเพลงไม่เข้าใจเพลงที่อาจารย์เปิดสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาเพราะทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจ ควรปรับปรุงแก้ไขคือควรตั้งใจฟังเพลงให้จบ แล้วจับใจความเนื้อหาของเพลง ว่าอาจารย์ต้องการจะสื่ออะไรกับนักศึกษาแล้วนำมาตอบคำถามในห้องเรียน

บทความของเพื่อน

 1.การสอนเรื่องปรากฎการณ์ธรรมมีความสำคัญอย่างไร

 2.วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้รับ

- การเรียงลำดับ
- การจำแนก
- การสังเกต

สาระที่เด็กควรเรียนร

- เรื่องราวเกี่ยวกับคนและสถานที่และสิ่งแวดล้อม
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเรา



ความลับของแสง < The Secret of Light >


   แสงมีความสำคัญกับตัวเรามากเพราะแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่สั้นและยาว แสงยังเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งได้ 7 รอบต่อวินาทีแสงยังช่วยในการมองเห็นของรอบตัวเราได้เพราะแสงส่องสว่างลงมากระทบวัตถุหนึ่งต่อวัตถุหนึ่งทำให้เรามองเห็นสิ่งของได้

 การเคลื่อนที่ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที วิ่งรอบโลก 7 รอบต่อวินาที

ประเภทของวัตถุ

- วัตถุโปร่งแสง < Translocent objects>
- วัตถุโปร่งใส  < Transparent objects>
- วัตถุทึบแสง  < Opaque objects>

คุณสมบัติ

- การหักเหของแสง
- การเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง
- การสะท้อนของแสง

ประโยชน์

 - กล้องส่องทางไกล , ทำกล้องฉาพภาพ
 -  ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดขึ้น
-  ขยายภาพ การจุดไฟ


ประเมินตนเอง

  คุยกันในห้องทำให้อาจารย์สร้างสถานการณ์ขึ้นมา ไม่ค่อยตั้งใจฟังเพลงที่อาจารย์เปิดแต่ตั้งใจฟังเพื่อนอ่านบทความ

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนคุยกันในขณะที่อาจารย์เปิดเพลง ทำให้อาจารย์สร้างสถานการณ์ขึ้นมาแต่เพื่อนบางกลุ่มก็ตั้งใจฟังเพลงฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์
 อาจารย์มีเพลงมาเปิดให้ก่อนเรียนแต่นักศึกษาไม่ตั้งใจฟังอาจารย์ได้ยกสถานการณ์ขึ้นมาและอาจารย์มีธุระให้ไปดูวีดีโอความลับของแสง

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 09 เดือนกันยายน พ.ศ.2557



กิจกรรมวันนี้

อาจารย์อธิบายถึงวิธีการเขียนบล็อกเกอร์ที่ต้องถูกต้อง
เพื่อนๆนำเสนอบทความ 5 คน 
ดิฉันขอยกตัวอย่างมา 1 คน คือ บทความของ 

นางสาวอุมาพร ปกติ 
เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี : บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย
โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท. เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านดนตรี” เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนให้กับครูปฐมวัยที่เข้าร่วมอบรมกว่า 100 คน
วิทยากรเริ่มต้นด้วยการสมมติว่า นี่คือห้องเรียนให้ผู้เข้าอบรม (นักเรียน) ส่งลูกบอลตามจังหวะเพลง พร้อมแสดงท่าทางประกอบ เพื่อสร้างความสนุกสนาน เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน จากนั้นชวนผู้เข้าอบรมสังเกตว่า พบอะไรจากกิจกรรมนี้ ซึ่งมีคำตอบหลากหลายเช่น ความหนัก-เบา ความเร็ว-ช้า ความตื่นเต้น สนุกสนาน ได้ใช้สมาธิในการฟัง การใช้ประสาทสัมผัส เป็นต้น จากนั้นชวนตั้งคำถามต่อว่า “ร่างกายของเราจะทำให้เกิดเสียงได้หรือไม่?” ผู้เข้าอบรมจะพยายามหาคำตอบจากการทดลองปฏิบัติจากร่างกายตนเองว่า เสียงเกิดขึ้นได้จากการกระทำอย่างไรได้บ้าง เช่น การสั่น การตี การดีด
หลังจากนั้น เริ่มนำอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันเข้ามาร่วม เช่น ช้อน ตะเกียบ ขวดเล็ก ขวดใหญ่ ลูกแก้ว ถั่วเขียว เป็นต้น และชวนผู้เข้าร่วมอบรมสร้างเสียงจากอุปกรณ์เหล่านี้ และตั้งคำถามต่อไปเรื่อยๆว่า อุปกรณ์ต่างๆกันเสียงต่างกันหรือไม่ อย่างไร จากนั้นนำประสบการณ์ที่ได้มาชวนพูดคุยว่าได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติจริง
แล้วชวนทำกิจกรรม “ร้องรำทำเพลง” คือ การชวนฝึกร้องเพลงตามจังหวะร่วมกัน แล้วชวนตั้งคำถามว่า พบอะไรจากเพลงนี้ ผู้เข้าอบรมจะสามารถตอบได้จากประสบการตรงของตัวเองเช่น มีเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบา เสียงค่อย เสียงสั้น เสียงยาว จากนั้นนำจังหวะเหล่านี้มาแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงคณิตศาสตร์จากเสียงดนตรี ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นเรื่องสนุกสนาน และไม่ถูกยัดเหยียดด้วยแบบฝึกหัด หรือคำบรรยายของครู เพราะการเรียนรู้ทุกอย่างจะทำผ่านกิจกรรมในการลงมือปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ดนตรีสามารถนำมาเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆได้ แม้แต่คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว หัวหน้าโครงการบูรณาการวิทย์-คณิต และเทคโนโลยีปฐมวัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ พูดถึงกิจกรรมการบูรณาการดนตรีในการเรียนรู้คณิต-วิทย์ปฐมวัยว่า สาระสำคัญของการเรียนการสอนในรูปแบบนี้คือ “กระบวนการ” จะไม่มีการบรรยาย ความรู้ที่เด็กได้รับมาจากการปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างคำถาม เด็กลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบ และนำมาสรุปร่วมกัน
“เราจะเน้นให้เด็กได้คิด ได้ตั้งคำถาม เด็กเห็นขวด 1 ใบจะทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เด็กต้องมาคิดต่อ มาสืบเสาะหาความรู้ เด็กจะรู้จักการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนจากครูเป็นศูนย์กลาง เป็นการให้เด็กเป็นศูนย์กลางแทน”
ดร.เทพกัญญา ชี้ให้เห็นอีกว่า การนำดนตรีเข้ามาเป็นตัวดำเนินกิจกรรมนั้น เสียงของคนตรีทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของวิทยาศาสตร์ เช่น กำเนิดเสียงเกิดจากอะไร เกิดได้อย่างไร ส่วนจังหวะของดนตรีเป็นการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งกิจกรรมในรูปแบบนี้ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และดนตรี กิจกรรมนี้ สสวท.ต้องการทำเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนให้แก่คุณครูปฐมวัย ให้เห็นว่าวิทย์-คณิตนั้นสอดแทรกเรื่องดนตรีได้อย่างไร ซึ่งครูแต่ละคนจะต้องนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยด้วยตนเอง
ด้าน อาจารย์ศุภนุช ตันติอภิกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบ้านทิพย์ ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมนี้ด้วย บอกว่า กิจกรรมสาธิตนี้ ครูสามารถนำไปปรับใช้ที่โรงเรียนได้ เพราะเด็กแต่ละช่วงชั้นตั้งแต่ อนุบาล 1-3 กิจกรรมที่นำมาใช้ควรจะต้องแตกต่างกันไป และให้เหมาะสมในแต่ละวัย
“สมัยก่อนนั้นการเรียนการสอนเป็นแบบเก่าๆ คือ การท่องอย่างเดียว ซึ่งการสอนลักษณะเช่นนี้ทำให้เด็กคิดไม่เป็น แปลงไม่ได้ แต่การเรียนรู้แบบใช้กิจกรรมบูรณาการทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น เด็กไม่ต้องท่องจำ เป็นการค่อยๆปลูกฝังเขาที่ละเล็กละน้อย เด็กจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งที่โรงเรียนก็เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการเช่นกันโดยแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไรนั้นจะดูความสนใจของเด็กเป็นหลักว่าช่วงเวลานั้นๆ เด็กอยากเรียนรู้อะไร หรือครูผู้สอนเองจะพยายามสร้างความสนใจให้เด็ก เพื่อนำเข้าสู่เนื้อหา อย่างไรก็ตาม กิจกรรมแต่ละกิจกรรมทั้งวิทย์ คณิต ศิลปะ ดนตรี กิจกรรมกลางแจ้งต่างๆเหล่านี้ สามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้”
ด้าน คุณครูแววดาว ดวงแก้ว สอนชั้นเตรียมอนุบาลโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ บอกว่า การอบรมครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ โดยเฉพาะในช่วงซัมเมอร์นี้ ที่โรงเรียนจะทำค่ายดนตรีกับชีวิต ดังนั้นนรูปแบบกิจกรรมต่างๆสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ ซึ่งที่โรงเรียนก็เน้นกิจกรรมเพราะนำมาบูรณาการได้หลายวิชา เช่น ดนตรีนำมาเชื่อมโยงกับวิทย์-คณิต ได้ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสังคม ด้านจิตใจ ของเด็กด้วย
คุณครูแววดาว บอกอีกว่า การสอนในระดับชั้อนุบาลนั้นเป็นการเตรียมพร้อมให้กับเด็ก ให้เด็กเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับเพื่อนๆ กับครู ต้องทำให้เขารู้สึกมีความสุขเหมือนกับที่อยู่บ้าน ต้องสร้างความไว้วางใจในตัวครู เขาจะเรียนรู้อย่างสนุก
ส่วน คุณครูปัญญ์ชลี ไวยธรรม ครูอนุบาลโรงเรียนสันติดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ ยอมรับว่าครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการโดยใช้ดนตรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสอนของตนต่อไป และนำไปใช้ได้ ซึ่งเห็นด้วยว่าการสอนแบบบูรณาการทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้ค้นคว้าด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม การสอนเด็กด้วยอุปกรณ์ต่างๆนั้นครูจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
“โรงเรียนเริ่มนำวิธีการบูรณาการมาใช้ประมาณ 2-3 ปีการศึกษาแล้ว โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมโยงวิชาต่างๆทั้งวิทย์ คณิต ภาษาไทย อังกฤษ รวมทั้งอิสลามศึกษาด้วย”
คุณครูภทพร สุคนธพันธ์ จากสถานพัฒนาและเลี้ยงดูเด็กอ้อมอุ่น จังหวัดปทุมธานี เห็นว่า การเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการนั้นสำหรับเด็กเล็กๆ สามารถนำไปใช้ได้ เพียงแต่ไปปรับให้เหมาะสมกับวัย และการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะติดตัวเด็กไปจนโต ฝังรากลึก การเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็คือ เจนตคติ ดังนั้นต้องมีการสร้างกระบวนการขึ้น ครูจะต้องมีความตระหนักตรงนี้


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

บิดาแห่งการศึกษาปฐมวัย คือ เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล 

ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
การศึกษาสืบค้นและวัดระดับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตกติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1.การเปลี่ยนแปลง = ของทุกอย่างบนโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง = ของทุกอย่างบนโลกนี้่ย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น ขาว-ดำ
3.การปรับตัว = การปรับตัวให้กับสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม และสังคม
4.การพึ่งพาอาศัยกัน = การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
5.ความสมดุล = ถ้ามีการปรับตัวก็ต้องอาศัยความสมดุล

สรุป

แนวคิดพื้นฐานที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมล้วนแต่มีความแตกต่างกันหรือไม่ก็คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยการปรับตัวและการพึงพาอาศัยกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.ขั้นกำหนดปัญหา = กำหนดตัวปัญหาหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน = โดยการคิดถึงวิธีการแก้ปัญหา
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล = การเก็บข้อมูลที่ผ่านการทดลองและการสังเกต
4.ขั้นลงข้อสรุป = การสรุปผลจากการทดลองและการสังเกต

เจตกติทางวิทยาศาสตร์

1.ความอยากรู้อยากเห็น = พฤติกรรมของเด็กคุณลักษณะหรือพัฒนาการ
2.ความเพียรพยาม = ความเพียรที่จะหาคำตอบ
3.ความมีเหตุผล = ข้อของความคิดเหตุและผล
4.ความซื้อสัตย์ = การซื้อสัตย์ต่อความคิดและผลของการทดลอง
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ = จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
6.ความใจกว้าง = เมื่อมีความรู้ก็ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว ควรที่จะใจกว้าง ในการถ่ายทอดความรู้ผลของการทดลองต่างๆให้กับผู้อื่นรู้ด้วย

ความสำคัญและประโยชน์

ความสำคัญ

- เสริมสร้างประสบการณ์
- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ฯลฯ

ประโยชน์

- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาพัฒนาการทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- ฯลฯ

การประยุกต์ใช้

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (student- centered) โดยจะฝึกให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การทำโครงงาน การทดลองจัดประสบการณ์ ออกแบบกิจกรรมด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น   ซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

เทคนิคการสอน

1.มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมที่เกิดจากการระดมความคิด
2.การนำเสนอบทความ เป็นการวิเคราะห์บทความ คือการหาศึกษาและรายละเอียดย่อย

ค้นคว้าเพิ่มเติม

 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งมี 13 ทักษะดังนี้

1.ทักษะการสังเกต

ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น

2.ทักษะการวัด

การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง

3.ทักษะการจำแนก

การจำแนก หมายถึงการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 

4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

ความรู้เรื่องสเปส ( SPACE ) สเปส หมายถึง ที่ว่าง สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุครองอยู่ ถ้าจะให้เห็นภาพภาพพจน์ที่ชัดเจน ขอให้ลองนึกว่า ถ้าตัวเราลงไปแช่อยู่ในน้ำซึ่งอยู่ในถังจนมิดหัว แล้วนำไปแช่เย็นจนแข็ง ตัวเราก็จะถูกฝังอยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้น หากเรามีความสามารถพิเศษหายตัวออกจากก้อนน้ำแข็งนั้นไป ที่ว่างที่อยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้นก็คือ สเปสของตัวเรานั่นเอง

5.ทักษะการคำนวณ

ลักษณะของการคำนวณ มีดังต่อไปนี้
1. นับจำนวน
2. ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ
3. บอกวิธีคำนวณ
4. คิดคำนวณ
5. แสดงวิธีคิดคำนวณ
6. บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย
7. หาค่าเฉลี่ย
8. แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย

6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ เราแบ่งข้อมูลตามระดับความยากง่ายในการทำความเข้าใจได้ 2 ประเภทคือ
1. ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจยาก ได้จากการสังเกต การวัด การจำแนก การคำนวณ ฯลฯ
2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลดิบมาดัดแปลงใหม่นั่นเอง การดัดแปลงข้อมูลดิบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

7.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล

การสื่อความหมายข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาแสดงหรือนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีก รูปแบบใหม่ที่สามารถแสดงหรือนำเสนอมีหลายรูปแบบ

8.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสสิ่งของหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูลอย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ 

9.ทักษะการพยากรณ์

การพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย

10.ทักษะการตั้งสมมุติฐาน

การตั้งสมมุติฐาน หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ทราบ หรือไม่มีความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย 

11.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

ในการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานนั้น อาจมีคำ หรือข้อความ ในสมมุติฐานที่มีความหมายได้หลายอย่าง ทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน และอาจสังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดความหมายของคำ หรือข้อความนั้น ให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ และสามารถสังเกตหรือตรวจสอบได้ง่าย 

12.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

ตัวแปร หมายถึง วัสดุ สิ่งของ หรือสถานการณ์ หรือปริมาณ ที่สามารถทำให้ผลของการทดลองออกมาผิด หรือถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือตัวแปรที่เป็นต้นเหตุ ให้เราคาดว่าทำให้ผลออกมาต่างกัน
2. ตัวแปรตาม คือผลที่เกิดจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือสิ่งที่เราต้อง หรือควบคุมให้เหมือนกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลองเกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

13.ทักษะการทดลอง

การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น


My map....สรุปการเรียนประจำสัปดาห์





สรุปบันทึกบทความทางวิทยาศาสตร์

บทความทางวิทยาศาสตร์

เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์(Science experiments)

เขียนโดย อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์

  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์
การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้

1.ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น       
  • การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง
  • การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง
  • หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น
2.ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น
4.ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก
5.ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น
6.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) 

การทดลองวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้
1.ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
2.ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3.ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยาดรู้อยากเห็นของเด็ก
4.ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
5.ส่งเสิมให้เด็กเป็นคนทีมีจิตใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

่่่การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม เพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และเพื่อสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นกระบวนการและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ครูเป็นผู้ตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทดลองไว้อย่างพร้อมเพรียง ก่อนที่เด็กจะลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูอาจจะอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมก่อน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรม ครูเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม ครูให้เด็กออกมานำเสนอหรืออภิปรายสิ่งที่ได้จากการทดลอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสรุปสิ่งที่ค้น พบด้วยตนเองทุกครั้ง และถือว่าการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์ กลาง (Child – centered) และสะท้อนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)

เกร็ดความรู้เพื่อครู
ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่องที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน



วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:00-12:20

วันที่ 02 เดือนกันยายน พ.ศ.2557


  



กิจกรรมวันนี้ เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน 5 คน
มีรายละเอียดดังนี้ 

       
         คนแรก นางสาวกมลวัลย์ นาควิเชียร
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
เนื้อหาโดยย่อ

แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มี

การพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่
ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก
 ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว      ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย
 ได้รับการพัฒนา มี 7 
ทักษะกระบวนการ คือ

1.ทักษะการสังเกต

2.ทักษะการจำแนกประเภท

3.ทักษะการวัด

4.ทักษะการสื่อความหมาย

6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา

7. ทักษะการคำนว


คนที่ 2นางสาวศิรดา สักบุตร

เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
เนื้อหาโดยย่อ
ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา 
      
 กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง 
จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ
 ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ 
ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่างง่ายๆ
       
       “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาว

เขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามา
ช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา 
พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา
       
       “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา 

ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอ
ให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”


คนที่ 3 นางสาวศิริพร พัดลม
เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ
เนื้อหาโดยย่อ

แม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
       อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” 
ซึ่งสอนเด็กๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อก 
เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
 ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝัง
แนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
            ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ 
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ 
ได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น “เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู” ถึง 12 
กลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครู
ขาดแคลนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี              “เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบางท่านไม่ได้
มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้น
 ก่อนทำกิจกรรม เราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้คำ
สำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทาง
เดียวกัน” ครูพัชรากล่าว แม่ครูทัศวรรณ ปู่ลมดี ผู้ปกครองจิตอาสาในเครือข่าย
พ่อครู-แม่ครูท่านหนึ่ง ยืนยันว่า การที่พ่อแม่ร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่า ลูกเรา
มีความบกพร่องหรือด้อยในด้านใด ที่สำคัญคือ พ่อแม่ได้ตระหนักว่า จะปล่อยให้การเรียน
รู้ของเด็กๆ เป็นภาระของครูทั้งหมด
ไม่ได้ เพราะเวลาของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่บ้าน จึงเป็นเรื่องดีที่โรงเรียน พ่อแม่ และชุมชน 
จะมาช่วยกันหาวิธีการศึกษา หรือช่วยกันตอกย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้มา 
ซึ่งเราสัมผัสได้เลยว่า เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นมาก ครอบครัวก็อบอุ่นเพราะได้ใช้เวลาร่วม
กันมากขึ้น “ตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบนี้ 
เมื่อเขาขึ้น
สู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน ถ้าหาก สสวท. 
สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวน
การคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมี
จิตวิทยาศาสตร์ ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนัก
วิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้” ผอ.ทองสุข สรุปทิ้งท้าย



คนที่ 4 นางสาวศิริวรรณ กรุดเนียม
เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาโดยย่อ

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท

การแยกประเภทเมล็ดพืชแนวคิดเมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี 
และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ   

1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ             
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี
 และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์             

1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย
 ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ  
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช            
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม             
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็ก
ทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืช
ตามลำพัง            
 2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำ
กิจกรรมอยู่ครู
เดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุ
ใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น             
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขา
ได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น             
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ
 เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืช
เหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กอง
เดียวกัน”“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”



        คนที่ 5 นางสาวขวัญฤทัย ใยสุข
เรื่องการเป่าลูกโป่ง
วันนี้เพื่อเตรียมเนื้อหามาไม่ตรงกับที่อาจารย์สั่ง แต่อาจารย์ก็ให้โอกาสเพื่อนได้ออกไป
อภิปรายงานในส่วนที่ตนเตรียมมา
หลังจากเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็มีคำแนะนำแก่เพื่อนในการออกมานำเสนอหน้าชั้น
เรียน และการพูดคำคงบกล้ำ โดยเฉพาะคำว่าครู

ภาพกิจกรรมการนำเสนอบทความ














ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • พอใจคนที่ตามใจ
  • มีช่วงความจำสั้น
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง
  • ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
  • ช่วยตนเองได้
  • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  • พูดประโยคยาวขึ้น
  • ร้องเพลงง่ายๆทและแสดงท่าทางเลี้ยนแบบ


การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เฟลอเบล = การเรียนรู้ผ่านการเล่น


    ภาพกิจกรรมของวันนี้








หลังจากเสร็จสิ้นสาระการเรียนรู้ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาไปชมศึกษานิทรรศการ 
โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ




ภาพการเข้าร่วมกิจกรมม








 


การประเมิน
การประเมินตนเอง : วันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ทำงานส่งเสร็จทันเวลา 
การประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนตรงเวลา มีแค่ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย 
มีคุยกันจน  อาจารย์ตักเตือนบ้าง ทำงานเสร็จตรงตามเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย มีทักษะในการสอน
 โดยการพยายามกระตุ้นนักศึกษาให้มีสมาธิในการเรียนอยู่ตลอดเวลา