บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20
วันที่ 09 เดือนกันยายน พ.ศ.2557
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์อธิบายถึงวิธีการเขียนบล็อกเกอร์ที่ต้องถูกต้อง
เพื่อนๆนำเสนอบทความ 5 คน
ดิฉันขอยกตัวอย่างมา 1 คน คือ บทความของ
นางสาวอุมาพร ปกติ
เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี : บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย
โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท. เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านดนตรี” เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนให้กับครูปฐมวัยที่เข้าร่วมอบรมกว่า 100 คน
วิทยากรเริ่มต้นด้วยการสมมติว่า นี่คือห้องเรียนให้ผู้เข้าอบรม (นักเรียน) ส่งลูกบอลตามจังหวะเพลง พร้อมแสดงท่าทางประกอบ เพื่อสร้างความสนุกสนาน เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน จากนั้นชวนผู้เข้าอบรมสังเกตว่า พบอะไรจากกิจกรรมนี้ ซึ่งมีคำตอบหลากหลายเช่น ความหนัก-เบา ความเร็ว-ช้า ความตื่นเต้น สนุกสนาน ได้ใช้สมาธิในการฟัง การใช้ประสาทสัมผัส เป็นต้น จากนั้นชวนตั้งคำถามต่อว่า “ร่างกายของเราจะทำให้เกิดเสียงได้หรือไม่?” ผู้เข้าอบรมจะพยายามหาคำตอบจากการทดลองปฏิบัติจากร่างกายตนเองว่า เสียงเกิดขึ้นได้จากการกระทำอย่างไรได้บ้าง เช่น การสั่น การตี การดีด
หลังจากนั้น เริ่มนำอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันเข้ามาร่วม เช่น ช้อน ตะเกียบ ขวดเล็ก ขวดใหญ่ ลูกแก้ว ถั่วเขียว เป็นต้น และชวนผู้เข้าร่วมอบรมสร้างเสียงจากอุปกรณ์เหล่านี้ และตั้งคำถามต่อไปเรื่อยๆว่า อุปกรณ์ต่างๆกันเสียงต่างกันหรือไม่ อย่างไร จากนั้นนำประสบการณ์ที่ได้มาชวนพูดคุยว่าได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการลงมือปฏิบัติจริง
แล้วชวนทำกิจกรรม “ร้องรำทำเพลง” คือ การชวนฝึกร้องเพลงตามจังหวะร่วมกัน แล้วชวนตั้งคำถามว่า พบอะไรจากเพลงนี้ ผู้เข้าอบรมจะสามารถตอบได้จากประสบการตรงของตัวเองเช่น มีเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบา เสียงค่อย เสียงสั้น เสียงยาว จากนั้นนำจังหวะเหล่านี้มาแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงคณิตศาสตร์จากเสียงดนตรี ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นเรื่องสนุกสนาน และไม่ถูกยัดเหยียดด้วยแบบฝึกหัด หรือคำบรรยายของครู เพราะการเรียนรู้ทุกอย่างจะทำผ่านกิจกรรมในการลงมือปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ดนตรีสามารถนำมาเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆได้ แม้แต่คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว หัวหน้าโครงการบูรณาการวิทย์-คณิต และเทคโนโลยีปฐมวัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ พูดถึงกิจกรรมการบูรณาการดนตรีในการเรียนรู้คณิต-วิทย์ปฐมวัยว่า สาระสำคัญของการเรียนการสอนในรูปแบบนี้คือ “กระบวนการ” จะไม่มีการบรรยาย ความรู้ที่เด็กได้รับมาจากการปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างคำถาม เด็กลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบ และนำมาสรุปร่วมกัน
“เราจะเน้นให้เด็กได้คิด ได้ตั้งคำถาม เด็กเห็นขวด 1 ใบจะทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เด็กต้องมาคิดต่อ มาสืบเสาะหาความรู้ เด็กจะรู้จักการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนจากครูเป็นศูนย์กลาง เป็นการให้เด็กเป็นศูนย์กลางแทน”
ดร.เทพกัญญา ชี้ให้เห็นอีกว่า การนำดนตรีเข้ามาเป็นตัวดำเนินกิจกรรมนั้น เสียงของคนตรีทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของวิทยาศาสตร์ เช่น กำเนิดเสียงเกิดจากอะไร เกิดได้อย่างไร ส่วนจังหวะของดนตรีเป็นการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งกิจกรรมในรูปแบบนี้ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และดนตรี กิจกรรมนี้ สสวท.ต้องการทำเป็นตัวอย่างการเรียนการสอนให้แก่คุณครูปฐมวัย ให้เห็นว่าวิทย์-คณิตนั้นสอดแทรกเรื่องดนตรีได้อย่างไร ซึ่งครูแต่ละคนจะต้องนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยด้วยตนเอง
ด้าน อาจารย์ศุภนุช ตันติอภิกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบ้านทิพย์ ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมนี้ด้วย บอกว่า กิจกรรมสาธิตนี้ ครูสามารถนำไปปรับใช้ที่โรงเรียนได้ เพราะเด็กแต่ละช่วงชั้นตั้งแต่ อนุบาล 1-3 กิจกรรมที่นำมาใช้ควรจะต้องแตกต่างกันไป และให้เหมาะสมในแต่ละวัย
“สมัยก่อนนั้นการเรียนการสอนเป็นแบบเก่าๆ คือ การท่องอย่างเดียว ซึ่งการสอนลักษณะเช่นนี้ทำให้เด็กคิดไม่เป็น แปลงไม่ได้ แต่การเรียนรู้แบบใช้กิจกรรมบูรณาการทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น เด็กไม่ต้องท่องจำ เป็นการค่อยๆปลูกฝังเขาที่ละเล็กละน้อย เด็กจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งที่โรงเรียนก็เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการเช่นกันโดยแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไรนั้นจะดูความสนใจของเด็กเป็นหลักว่าช่วงเวลานั้นๆ เด็กอยากเรียนรู้อะไร หรือครูผู้สอนเองจะพยายามสร้างความสนใจให้เด็ก เพื่อนำเข้าสู่เนื้อหา อย่างไรก็ตาม กิจกรรมแต่ละกิจกรรมทั้งวิทย์ คณิต ศิลปะ ดนตรี กิจกรรมกลางแจ้งต่างๆเหล่านี้ สามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้”
ด้าน คุณครูแววดาว ดวงแก้ว สอนชั้นเตรียมอนุบาลโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ บอกว่า การอบรมครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ โดยเฉพาะในช่วงซัมเมอร์นี้ ที่โรงเรียนจะทำค่ายดนตรีกับชีวิต ดังนั้นนรูปแบบกิจกรรมต่างๆสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ ซึ่งที่โรงเรียนก็เน้นกิจกรรมเพราะนำมาบูรณาการได้หลายวิชา เช่น ดนตรีนำมาเชื่อมโยงกับวิทย์-คณิต ได้ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านสังคม ด้านจิตใจ ของเด็กด้วย
คุณครูแววดาว บอกอีกว่า การสอนในระดับชั้อนุบาลนั้นเป็นการเตรียมพร้อมให้กับเด็ก ให้เด็กเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับเพื่อนๆ กับครู ต้องทำให้เขารู้สึกมีความสุขเหมือนกับที่อยู่บ้าน ต้องสร้างความไว้วางใจในตัวครู เขาจะเรียนรู้อย่างสนุก
ส่วน คุณครูปัญญ์ชลี ไวยธรรม ครูอนุบาลโรงเรียนสันติดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ ยอมรับว่าครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการโดยใช้ดนตรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสอนของตนต่อไป และนำไปใช้ได้ ซึ่งเห็นด้วยว่าการสอนแบบบูรณาการทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้ค้นคว้าด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม การสอนเด็กด้วยอุปกรณ์ต่างๆนั้นครูจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
“โรงเรียนเริ่มนำวิธีการบูรณาการมาใช้ประมาณ 2-3 ปีการศึกษาแล้ว โดยใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมโยงวิชาต่างๆทั้งวิทย์ คณิต ภาษาไทย อังกฤษ รวมทั้งอิสลามศึกษาด้วย”
คุณครูภทพร สุคนธพันธ์ จากสถานพัฒนาและเลี้ยงดูเด็กอ้อมอุ่น จังหวัดปทุมธานี เห็นว่า การเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการนั้นสำหรับเด็กเล็กๆ สามารถนำไปใช้ได้ เพียงแต่ไปปรับให้เหมาะสมกับวัย และการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะติดตัวเด็กไปจนโต ฝังรากลึก การเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็คือ เจนตคติ ดังนั้นต้องมีการสร้างกระบวนการขึ้น ครูจะต้องมีความตระหนักตรงนี้
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
บิดาแห่งการศึกษาปฐมวัย คือ เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
การศึกษาสืบค้นและวัดระดับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตกติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1.การเปลี่ยนแปลง = ของทุกอย่างบนโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง = ของทุกอย่างบนโลกนี้่ย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น ขาว-ดำ
3.การปรับตัว = การปรับตัวให้กับสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม และสังคม
4.การพึ่งพาอาศัยกัน = การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
5.ความสมดุล = ถ้ามีการปรับตัวก็ต้องอาศัยความสมดุล
สรุป
แนวคิดพื้นฐานที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมล้วนแต่มีความแตกต่างกันหรือไม่ก็คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยการปรับตัวและการพึงพาอาศัยกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา = กำหนดตัวปัญหาหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน = โดยการคิดถึงวิธีการแก้ปัญหา
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล = การเก็บข้อมูลที่ผ่านการทดลองและการสังเกต
4.ขั้นลงข้อสรุป = การสรุปผลจากการทดลองและการสังเกต
เจตกติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น = พฤติกรรมของเด็กคุณลักษณะหรือพัฒนาการ
2.ความเพียรพยาม = ความเพียรที่จะหาคำตอบ
3.ความมีเหตุผล = ข้อของความคิดเหตุและผล
4.ความซื้อสัตย์ = การซื้อสัตย์ต่อความคิดและผลของการทดลอง
5.ความมีระเบียบและรอบคอบ = จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
6.ความใจกว้าง = เมื่อมีความรู้ก็ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว ควรที่จะใจกว้าง ในการถ่ายทอดความรู้ผลของการทดลองต่างๆให้กับผู้อื่นรู้ด้วย
ความสำคัญและประโยชน์
ความสำคัญ
- เสริมสร้างประสบการณ์
- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ฯลฯ
ประโยชน์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาพัฒนาการทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- ฯลฯ
การประยุกต์ใช้
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (student- centered) โดยจะฝึกให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การทำโครงงาน การทดลองจัดประสบการณ์ ออกแบบกิจกรรมด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์
เทคนิคการสอน
1.มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมที่เกิดจากการระดมความคิด
2.การนำเสนอบทความ เป็นการวิเคราะห์บทความ คือการหาศึกษาและรายละเอียดย่อย
ค้นคว้าเพิ่มเติม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งมี 13 ทักษะดังนี้
1.ทักษะการสังเกต
ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น
2.ทักษะการวัด
การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง
3.ทักษะการจำแนก
การจำแนก หมายถึงการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
ความรู้เรื่องสเปส ( SPACE ) สเปส หมายถึง ที่ว่าง สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุครองอยู่ ถ้าจะให้เห็นภาพภาพพจน์ที่ชัดเจน ขอให้ลองนึกว่า ถ้าตัวเราลงไปแช่อยู่ในน้ำซึ่งอยู่ในถังจนมิดหัว แล้วนำไปแช่เย็นจนแข็ง ตัวเราก็จะถูกฝังอยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้น หากเรามีความสามารถพิเศษหายตัวออกจากก้อนน้ำแข็งนั้นไป ที่ว่างที่อยู่ในก้อนน้ำแข็งนั้นก็คือ สเปสของตัวเรานั่นเอง
5.ทักษะการคำนวณ
ลักษณะของการคำนวณ มีดังต่อไปนี้
1. นับจำนวน
2. ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ
3. บอกวิธีคำนวณ
4. คิดคำนวณ
5. แสดงวิธีคิดคำนวณ
6. บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย
7. หาค่าเฉลี่ย
8. แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย
6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ เราแบ่งข้อมูลตามระดับความยากง่ายในการทำความเข้าใจได้ 2 ประเภทคือ
1. ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจยาก ได้จากการสังเกต การวัด การจำแนก การคำนวณ ฯลฯ
2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลดิบมาดัดแปลงใหม่นั่นเอง การดัดแปลงข้อมูลดิบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
7.ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
การสื่อความหมายข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาแสดงหรือนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีก รูปแบบใหม่ที่สามารถแสดงหรือนำเสนอมีหลายรูปแบบ
8.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสสิ่งของหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูลอย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ
9.ทักษะการพยากรณ์
การพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย
10.ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
การตั้งสมมุติฐาน หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ทราบ หรือไม่มีความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย
11.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ในการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานนั้น อาจมีคำ หรือข้อความ ในสมมุติฐานที่มีความหมายได้หลายอย่าง ทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน และอาจสังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดความหมายของคำ หรือข้อความนั้น ให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ และสามารถสังเกตหรือตรวจสอบได้ง่าย
12.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
ตัวแปร หมายถึง วัสดุ สิ่งของ หรือสถานการณ์ หรือปริมาณ ที่สามารถทำให้ผลของการทดลองออกมาผิด หรือถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือตัวแปรที่เป็นต้นเหตุ ให้เราคาดว่าทำให้ผลออกมาต่างกัน
2. ตัวแปรตาม คือผลที่เกิดจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือสิ่งที่เราต้อง หรือควบคุมให้เหมือนกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลองเกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น
13.ทักษะการทดลอง
การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น
คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามข้อตกลงนะคะ
ตอบลบศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog
ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ
รีบปรับปรุงด่วน
การสรุปมีความรู้ แล้วยังมีอะไรอีกคะ
ควรมีสรุปข้อมูลของบทความที่เพื่อนนำเสนอทั้งหมด
ไม่ควรเลือกมาเพียงคนเดียวนะคะ