วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:30-12:20

วันที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ.2557


วันนี้อาจารย์ติชม เรื่องบล็อกเกอร์ บอกถึงข้อตกลงของบล็อกให้นักศึกษาทำตามข้อตกลงด้วย
สิ่งที่ได้รับและรายละเอียดการเรียนในวันนี้
วิธีการเรียนรู้คือ การลงมือทำ การปฎิบัติ
เด็กเรียนนรุ้โดยเด็กลงมือกระทำเองหรือเรียกอีกอย่างว่า วิธีการเรียนรู้  (How to Learn)



ข้อคิด กระจกยิ่งทำมุมกว้าง ยิ่งเห็นวัตถุน้อย ยิ่งทำมุมแคบ ยิ่งเห็นวัตถุได้มาก

รายวิชาเสริมประสบการณ์
- กาย = สุขภาพ ประสาทสัมผัสของกล้ามเื้อกับอวัยวะ
- อารมณ์ = การแสดงออกทางความรู้สึก
- สังคม = การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การช่วยเหลือตนเอง
- สติปัญญา = การคิด การสื่อสาร

กิจกรรมวันนี้

 กิจกรรมการหมุนภาพทำให้เกิดภาพซ้อน







                                                          ด้านหน้า                               ด้านหลัง


กิจกรรมนี้ เป็นการประดิษฐ์ของเล่นง่ายๆที่สามารถนำไปบูรณาการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรายวิชาศิลปะก็ได้



กิจกรรมนี้ อาจารณ์ได้แจกนักศึกษาไว้ และนำมาใช้ประดิษฐ์ในสัปดาห์ถัดไป


กิจกรรมตัวนี้ อาจารย์จัดเตรียมมาเพื่อให้นักศึกษาสังเกตสีของแสงของกระบอกแต่ละชิ้นที่มีสีแตกต่างกัน

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน
คนที่ 1 นางสาววิรัญดา ขยันงาม

การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย

คนที่ 2 นางสาวอรุณจิตร หาญห้าว

นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า

คนที่ 3 นางสาวณัฐิดา รัตนชัย

เรื่องแนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้

คนที่ 4 นางสาวอนิทิมล เสมมา 

เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น

หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ตรวจและแสดงความคิดเห็น mind map งานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
       

ศึกษาเพิ่มเติม

ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน


การทำงานของสมองคือ

         อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ สมองส่วนหน้า (Forebrain) สมองส่วนกลาง (Midbrain) และสมองส่วนท้าย (hindbrain) สมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการไปมากโดยเฉพาะส่วนหน้าจะมีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น แต่สมองส่วนกลางจะค่อย ๆ เล็กลงเพราะจะลดความสำคัญลงไป

สมองส่วนหน้า (Forebrain)
ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เพียงรับสัญญาณการดมกลิ่นจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ส่วนที่เรียกว่า Cerebrum จะควบคุมการใช้ความคิดความจำ การใช้เหตุผล การแปรหรือรับความรู้สึกชนิดต่าง ๆ เป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นและการได้ยินเสียง Cerebrum มีร่องลึกหรือรอยบุ๋มมากมายเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ที่เรียกว่า convolution ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้าแยกเป็น ธาลามัส (thalamus) และไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ธาลามัสทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่มาจากไขสันหลังและสมองเพื่อส่งไปยังส่วนหน้าสุดของซีรีบรัม ไฮโปธาลามัสอยู่ใต้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง (pituitary grand) ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ การกิน การกระหายน้ำ การหนีภัย การค่อสู้ การรักษาสมดุลของร่างกาย รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และพฤติกรรมทางเพศ

สมองส่วนกลาง (Midbrain)
สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ สมองส่วนนี้เป็นศูนย์กลางของการมองเห็น สัตว์เลื้อยคลานกับนก ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณการมองเห็นไปยังซีรีบรัม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นเพียงสถานีถ่ายทอดสัญญาณระหว่างสมองส่วนท้ายและสมองส่วนหน้า และระหว่างตากับสมองส่วนหน้า

สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
ประกอบด้วยซีรีบรัม (cerebellum) เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และ พอนส์ (pons) ซีรีบลัมมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทรงตัว ควบคุมและประสานงานการเคลื่อนไหว พอนส์ควบคุมการเคี้ยวและกลืน เมดุลลาออบลองกาตาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น