วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 103 วันอังคาร 08:00-12:20

วันที่ 02 เดือนกันยายน พ.ศ.2557


  



กิจกรรมวันนี้ เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน 5 คน
มีรายละเอียดดังนี้ 

       
         คนแรก นางสาวกมลวัลย์ นาควิเชียร
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
เนื้อหาโดยย่อ

แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มี

การพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่
ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก
 ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว      ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย
 ได้รับการพัฒนา มี 7 
ทักษะกระบวนการ คือ

1.ทักษะการสังเกต

2.ทักษะการจำแนกประเภท

3.ทักษะการวัด

4.ทักษะการสื่อความหมาย

6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา

7. ทักษะการคำนว


คนที่ 2นางสาวศิรดา สักบุตร

เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
เนื้อหาโดยย่อ
ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา 
      
 กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง 
จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ
 ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ 
ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่างง่ายๆ
       
       “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาว

เขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามา
ช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา 
พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา
       
       “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา 

ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอ
ให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”


คนที่ 3 นางสาวศิริพร พัดลม
เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ
เนื้อหาโดยย่อ

แม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
       อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” 
ซึ่งสอนเด็กๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อก 
เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
 ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝัง
แนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
            ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ 
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ 
ได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น “เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู” ถึง 12 
กลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครู
ขาดแคลนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี              “เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบางท่านไม่ได้
มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้น
 ก่อนทำกิจกรรม เราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้คำ
สำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทาง
เดียวกัน” ครูพัชรากล่าว แม่ครูทัศวรรณ ปู่ลมดี ผู้ปกครองจิตอาสาในเครือข่าย
พ่อครู-แม่ครูท่านหนึ่ง ยืนยันว่า การที่พ่อแม่ร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่า ลูกเรา
มีความบกพร่องหรือด้อยในด้านใด ที่สำคัญคือ พ่อแม่ได้ตระหนักว่า จะปล่อยให้การเรียน
รู้ของเด็กๆ เป็นภาระของครูทั้งหมด
ไม่ได้ เพราะเวลาของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่บ้าน จึงเป็นเรื่องดีที่โรงเรียน พ่อแม่ และชุมชน 
จะมาช่วยกันหาวิธีการศึกษา หรือช่วยกันตอกย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้มา 
ซึ่งเราสัมผัสได้เลยว่า เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นมาก ครอบครัวก็อบอุ่นเพราะได้ใช้เวลาร่วม
กันมากขึ้น “ตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบนี้ 
เมื่อเขาขึ้น
สู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน ถ้าหาก สสวท. 
สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวน
การคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมี
จิตวิทยาศาสตร์ ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนัก
วิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้” ผอ.ทองสุข สรุปทิ้งท้าย



คนที่ 4 นางสาวศิริวรรณ กรุดเนียม
เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาโดยย่อ

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท

การแยกประเภทเมล็ดพืชแนวคิดเมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี 
และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ   

1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ             
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี
 และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์             

1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย
 ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ  
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช            
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม             
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็ก
ทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืช
ตามลำพัง            
 2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำ
กิจกรรมอยู่ครู
เดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุ
ใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น             
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขา
ได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น             
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ
 เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืช
เหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กอง
เดียวกัน”“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”



        คนที่ 5 นางสาวขวัญฤทัย ใยสุข
เรื่องการเป่าลูกโป่ง
วันนี้เพื่อเตรียมเนื้อหามาไม่ตรงกับที่อาจารย์สั่ง แต่อาจารย์ก็ให้โอกาสเพื่อนได้ออกไป
อภิปรายงานในส่วนที่ตนเตรียมมา
หลังจากเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็มีคำแนะนำแก่เพื่อนในการออกมานำเสนอหน้าชั้น
เรียน และการพูดคำคงบกล้ำ โดยเฉพาะคำว่าครู

ภาพกิจกรรมการนำเสนอบทความ














ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • พอใจคนที่ตามใจ
  • มีช่วงความจำสั้น
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง
  • ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
  • ช่วยตนเองได้
  • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  • พูดประโยคยาวขึ้น
  • ร้องเพลงง่ายๆทและแสดงท่าทางเลี้ยนแบบ


การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เฟลอเบล = การเรียนรู้ผ่านการเล่น


    ภาพกิจกรรมของวันนี้








หลังจากเสร็จสิ้นสาระการเรียนรู้ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาไปชมศึกษานิทรรศการ 
โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ




ภาพการเข้าร่วมกิจกรมม








 


การประเมิน
การประเมินตนเอง : วันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ทำงานส่งเสร็จทันเวลา 
การประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนตรงเวลา มีแค่ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย 
มีคุยกันจน  อาจารย์ตักเตือนบ้าง ทำงานเสร็จตรงตามเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย มีทักษะในการสอน
 โดยการพยายามกระตุ้นนักศึกษาให้มีสมาธิในการเรียนอยู่ตลอดเวลา











1 ความคิดเห็น:

  1. การสรุปองค์ความรู้ที่เรียนและวิธีสอนยังไม่ชัดเจนนะคะ

    ตอบลบ